Gadgets, Slide

  • พิธีปิด 3

  • พิธีปิด 2

  • พิธีปิด 1

  • หลักสูตร กจบ.65

  • หลักสูตรการจัดงานส่งกำลังบำรุงชั้นสูง รุ่นที่ ๖๕

เกี่ยวกับโรงเรียน

ระบบสารสนเทศ

ระบบจัดเรียนและการทดสอบเพื่อวิเคราะห์และพัฒนาศักยภาพ

ระบบจัดทำแผนอิงระบบประกัน

ระบบทะเบียนบุคลากร

ระบบพัสดุและครุภัณฑ์

 000prakad-60-61-1

การศึกษา

link10

 

ประกันคุณภาพการศึกษา

บทความทางวิชาการ

 

 

 

 

 

 


หลักสูตร

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

link12

link12

link12

link12

link12

link12

ประวัติโรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบก


ความเป็นมาของการก่อตั้งโรงเรียน

 

          กองทัพบกได้ก่อตั้งโรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบก (ใช้คำย่อว่า รร.กบ.ทบ. ตามระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการใช้คำย่อในกองทัพบก พ.ศ.๒๕๔๐) ขึ้นมา เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นสถาบันการศึกษาวิชาส่งกำลังบำรุง ขึ้นตรงต่อกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก โดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยส่งกำลังบำรุงทหารบก" และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบก" ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ก่อนหน้านี้วิชาส่งกำลังบำรุงทหารได้ศึกษากันอยู่ในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกและโรงเรียนของกรมยุทธบริการบางแห่ง และบางเรื่องในระดับหน่วยใช้ โดยจัดไว้เป็นสาขาวิชาหนึ่ง

 

pic005

 

          เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง กองทัพบกได้รับยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์ใหม่มากมายตามโครงการช่วยเหลือของมิตรประเทส ความรู้ที่ได้มีการศึกษากันมาแล้วไม่เป็นการเพียงพอสำหรับดำเนินงานทั้งระดับการจัดงานและการปฏิบัติ อีกประการหนึ่ง การขยายตัวทางทหารและเทคโนโลยีของกำลังรบ ทำให้จำต้องขยายงานด้านการส่งกำลังบำรุงมากขึ้นกว่าเดิม การใช้ความรู้จากการศึกษาในระบบการส่งกำลังบำรุงในระดับหน่วยใช้นั้น ไม่สามารถทำให้งานด้านการส่งกำลังบำรุงประสบผลดีได้ กองทัพบกจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องให้มีการศึกษาในระดับ การจัดงาน (Management) ซึ่งเป็นงานที่เหมาะสมที่จะใช้ "ผู้บริหารงานชั้นสูง" เป็นผู้รับหน้าที่นี้ ซึ่งยังไม่มีการศึกษาในระดับนี้มาก่อน 

 

          ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ พล.ต.จิตติ นาวีเสถียร จก.กบ.ทบ. ในขณะนั้น ได้เริ่มประสานงานกับที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เสนอโครงการและแผนต่อกองทัพบกได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้น พร้อมกันนั้นก็ได้ออกระเบียบกองทัพบกว่าด้วยโรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบก พ.ศ.๒๕๐๐ ไว้

 

pic001

พล.ต.จิตติ นาวีเสถียร จก.กบ.ทบ.

ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบก

 

 

          ในสมัยหลังๆ ต่อมา ทางโรงเรียนฯ ยังมีความเห็นว่า ควรมีหลักสูตรการส่งกำลังบำรุงสำหรับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และถ้าเป็นความต้องการของหน่วยเหนือก็อาจขยายออกให้มีหลักสูตรที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรมสงคราม (Industrial War Course) ได้ด้วย นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาการโรงเรียนให้จัดการเปิดสอน หลักสูตรนายทหารส่งกำลังระดับกรมและกองพันขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวอีกด้วย

 

          ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา ผู้รับตำแหน่งโรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบกคือ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เพื่อให้การดำเนินงานและแนวทางในด้านการส่งกำลังบำรุงสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

 

pic006

 

 

 

การดำเนินการก่อสร้างอาคาร


การดำเนินการก่อสร้างอาคาร

 

          ด้วยเจตนาอันแรงกล้า และความเพียรพยายามของ พล.อ.จิตติ นาวีเสถียร ในการริเริ่มจนมีการอนุมัติให้จัดตั้ง โรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบกเสร็จสิ้นไปแล้วนั้น ในการดำเนินงานขั้นก่อตั้งของท่านผู้นี้ ร่วมกับคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ในสมัยที่ พล.ต.Partride เป็นหัวหน้า พ.อ. Ecdland เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาฝ่าย ทบ.และ พ.อ.Mclaughlin เป็นหัวหน้า สธ.๔ ได้ดำเนินการให้ได้รับความช่วยเหลือทุนในการก่อสร้างสถานที่ศึกษาและอาคารอื่นหลายหลัง ภายในบริเวณ ยศ.ทบ.(รวมทั้งอาคารเดิมของ รร.พธ.พธ.ทบ.และบ้านพัก นายทหาร,นายสิบบางส่วนด้วย) เป็นจำนวนเงิน ๓,๔๙๖,๐๐๐.๐๐ บาท โดยร่วมกับงบประมาณของ ทบ.ไทย อีกจำนวนหนึ่ง และเจ้าหน้าที่ OICC เป็นผู้ดำเนินการโดยตลอด พิธีรับมอบอาคารกระทำ เมื่อ ๑๗ ต.ค.๒๕๐๑ นับเป็นการก่อกำเนิดให้มีสถานที่ เจ้าหน้าที่และสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียนอย่างแท้จริง จากนั้นในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๖ ถึง พ.ศ.๒๕๑๗ ได้มีการซ่อมแซมดังแปลงเสริมสร้างบ้าง เพื่อสะดวกและเหมาะสมกับสถานการณ์ และความต้องการในการปฏิบัติงานของโรงเรียน การแก้ไข ดังแปลง ปรับปรุง ขยาย และก่อสร้างเพิ่ม เช่น โรงจอดรถ ปรับปรุงพื้นที่ และตัวอาคารเรียนให้กว้างขวางโอ่โถงยิ่งขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก

 

          ความช่วยเหลือในด้านอื่นที่สำคัญได้แก่การดำเนินการจัดส่งนายทหารไปศึกษาและดูงานที่ศูนย์การส่งกำลังของกองทัพสหรัฐฯ ที่ Fort Lee รัฐ Verginia รวมทั้งการจัดนายทหารสหรัฐฯ มาร่วมในการก่อตั้งวางแผนจัดหลักสูตร และดำเนินการสอนในระยะเริ่มแรกด้วย

 

pic007

 

          ต่อมาอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ได้ชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพการใช้งาน ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ ทบ. ได้อนุมัติให้รื้อถอนอาคารเรียนหลังเก่าและสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ณ ที่ดั้งเดิม การก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้การตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๐ รร.กบ.ทบ. ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารที่พักนายทหารนักเรียนซึ่งเป็นอาคารที่ทันสมัย และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

การดำเนินการศึกษาและการปรับปรุงหลักสูตร


          ในระยะเวลาระหว่างการอนุมัติจัดตั้งโรงเรียนส่งกำลังบำรุง กับระยะกำลังก่อสร้างอาคารนี้ ได้อาศัยสถานที่เดิมของ รร.สธ.ทบ. ในชั้นที่ ๓ ของกระทรวงกลาโหมด้านทิศเหนือเป็นสถานที่ชั่วคราว ใช้ในการเปิดหลักสูตรแรก คือ "หลักสูตรนำ" เพื่ออบรมหัวหน้ากองบางท่านใน กบ.ทบ.และผู้ที่จะทำหน้าที่ครูต่อไป โดยเริ่มขึ้นเมื่อ ๒๗ ก.พ.๒๕๐๑ มีนายทหารนักเรียน ๑๕ นาย ใช้เวลาศึกษา ๖ สัปดาห์ หลังจากนั้นได้เปิดหลักสูตร การจัดงานส่งกำลังบำรุงชั้นสูง รุ่นที่ ๑ ขึ้นเมื่อ ๑๖ มิ.ย. ๐๑ และจบใน ๑๗ ต.ค.๐๑ โดยอาศัยสถานที่ห้องเรียนของโรงเรียนยานเกราะเดิมที่บางซื่อเป็นสถานที่ชั่วคราว การศึกษาของรุ่น ต่อจากนั้นมาได้ใช้สถานที่ของ รร.กบ.ทบ.ปัจจุบันนี้ตลอดมา สถานที่ของโรงเรียนนี้ยังได้ใช้ประโยชน์แก่ราชการอื่นด้วย เช่น เป็นกองอำนวยการฝึก เป็นที่ประชุม เป็นต้น การแก้ไขปรับปรุงและขยายหลักสูตรก็ได้ดำเนินการเรื่อยมา จากหลักสูตรการจัดงานส่งกำลังเดิม ใช้เวลา ๑๒ สัปดาห์ มาเป็นหลักสูตรการจัดงาน ส่งกำลังบำรุงชั้นสูง ๒๐ สัปดาห์ กระทั้งถึงปี พ.ศ.๒๕๑๗ ทางโรงเรียนได้เสนอขอเปลี่ยนและขยายหลักสูตรการจัดงานส่งกำลังชั้นสูง (Supply Management Course) เป็นหลักสูตรการจัดงานส่งกำลังบำรุง (Logistic Management Course) ใช้เวลาศึกษา ๒๒ สัปดาห์ โดยเริ่มดำเนินการเปิดการศึกษณา เมื่อ ม.ค. ๒๕๑๗ โดยยังคงถือลำดับเลขของรุ่นการศึกษาต่อจาก หลักสูตรการจัดงานส่งกำลังขั้นสูง เป็นการจัดงานส่งกำลังบำรุง รุ่นที่ ๑๗ การแก้ไขปรับปรุงตำราและการสอนก็ได้พัฒนาเรื่อยมา เพื่อให้สามารถให้การศึกษาได้ตามหน้าที่ของโรงเรียนและตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา

 

 

การดำเนินการศึกษาและการปรับปรุงหลักสูตร

 

          สำหรับหลักสูตรการจัดงานส่งกำลังบำรุง ตั้งแต่ รุ่นที่ ๑๙ เป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้สูงยิ่งขึ้น โดยเพิ่มวิชาด้านการบริหาร และการอำนวยการช่วยรบขึ้นอีก และให้มีการศึกษาดูงานต่างประเทศ ในประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ด้วย ซึ่งขยายเวลาของหลักสูตรออกไปเป็น ๒๔ สัปดาห์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ได้เปลี่ยนแปลงชื่อหลักสูตรใหม่ เป็น การจัดงานส่งกำลังบำรุงขั้นสูง โดยเติมคำว่า "ขั้นสูง" ลงท้ายชื่อเดิม และหลักสูตรใหม่ เป็น การจัดงานส่งกำลังบำรุงทหารบก ได้เปิดหลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูงขึ้นอีกหลักสูตร คือ หลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์การบริหารงานส่งกำลังบำรุงและการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พสอ.) ระยะเวลาการอบรมทั้งสิ้น ๓ สัปดาห์ เพื่อผู้เข้ารับการอบรมซึ่งประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตรข้าราชการพลเรือน รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ได้มีความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ในการประสานงานในโอกาสต่อไป และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การระดมสรรพกำลัง

 

pic008